วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ทักษะการอธิบายและยกตัวอย่าง



สมาชิกในกลุ่ม

สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
 มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี









ทักษะการอธิบายและยกตัวอย่าง

             การอธิบายนับเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการเรียนการสอน เพราะผู้สอนจะช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดความกระจ่างและเข้าใจเนื้อหาวิชาได้อย่างถูกต้อง ดังนั้นในการจัดกระบวน
การเรียนการสอน ผู้สอนจึงมีความจำเป็นที่จะต้องสอดแทรกอธิบายเพิ่มเติมเข้าไปในทุกขั้นตอนของเนื้อหาที่เห็นว่าสำคัญหรือเป็นเนื้อหาที่ยากต่อการเข้าใจ

ความหมายของการอธิบาย
                 นักวิชาการได้ให้ความหมายของการอธิบายไว้ดังนี้
    ลัดดาวัลย์ พิชญพจน์ (ม.ป.ป., หน้า 54) อธิบายว่า การอธิบาย หมายถึง การขยายข้อความ เนื้อหรือเรื่องราวต่างๆ เพื่อให้เกิดความชัดเจนและเข้าใจมากขึ้น
                 เฉลิมศรี ทองแสง (2538, หน้า 65) อธิบายว่า การอธิบาย หมายถึง การพูดเพื่อทำให้ผู้อื่นเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่ตนพูด เช่น มีลักษณะ ขนาด รูปร่าง ลำดับขั้น วิธีการ ฯลฯ อย่างไร การอธิบายที่ดีจะต้องได้เนื้อหาสาระครบถ้วน และเข้าใจง่าย การอธิบายจึงมักจะมีการยกตัวอย่างประกอบ เพื่อช่วยให้การอธิบายชัดเจนมากขึ้น
             ดังนั้น การอธิบาย คือ การอธิบายขยายข้อความ หรือเรื่องราวต่างๆ โดยมีการยกตัวอย่างประกอบ เพื่อช่วยให้การอธิบายชัดเจนยิ่งขึ้น

รูปแบบของการยกตัวอย่างประกอบการอธิบาย
                 ลัดดาวัลย์ พิชญพจน์ (ม.ป.ป., หน้า 54) ได้กำหนดการยกตัวอย่างประกอบ
การอธิบาย สามารถกระทำได้ใน 2 แบบ ดังต่อไปนี้
                 1.  แบบนิรนัย (Deductive System) หมายถึง การอธิบายโดยการให้รู้หลัก กฎ สูตรหรือนิยามก่อน แล้วจึงยกตัวอย่างประกอบ หรือกล่าวได้ว่าเป็นการสอนจากกฎไปหาตัวอย่าง เช่น การสอนวิชาหลักภาษาไทยเกี่ยวกับเรื่องชนิดของคำ โดยผู้สอนอธิบายถึงความหมายของคำนาม ซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกชื่อคน สัตว์ สิ่งของ จากนั้นผู้สอนยกตัวอย่างคำนาม ได้แก่ ม้า ครู โรงเรียนเป็นต้น ส่วนคำอื่นๆ เช่น สรรพนาม กริยา วิเศษณ์ ฯลฯ ก็สามารถอธิบายในลักษณะเดียวกัน จากนั้นนำเอาคำต่างๆ มาปะปนกัน แล้วให้ ผู้เรียนตัดสินหรือบอกให้ได้ว่าคำแต่ละคำเป็นคำชนิดใด โดยใช้กฎเกณฑ์ที่เรียนไปนั้นเป็นสิ่งที่ชี้วัดหรืออธิบายเหตุผล
                 2. แบบอุปนัย (Inductive System) หมายถึง การอธิบายโดยการยกตัวอย่างหรือให้รายละเอียดต่างๆ ที่เหมาะสมกับความรู้และประสบการณ์เดิมของผู้เรียน จากนั้นเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้สังเกตและพิจารณาจากตัวอย่าง แล้วสรุปเป็นกฎเกณฑ์หรือหลักการขึ้นมาภายหลัง เช่น การทดลองทางวิทยาศาสตร์ โดยนำวัสดุที่ทำจากสิ่งต่างๆ เช่น ไม้ สังกะสี ทองแดง และอื่นๆ มาต้มให้ความร้อนรวมกัน จากนั้นให้ผู้เรียนสรุปว่าวัสดุชนิดใดสามารถนำความร้อนได้ดีที่สุด

ลักษณะการอธิบายที่ดี
             ลักษณะการอธิบายที่ดี ลัดดาวัลย์ พิชญพจน์ (ม.ป.ป., หน้า 54) ได้กำหนดไว้ดังนี้
             1. ควรใช้ภาษาง่ายๆ กะทัดรัด และได้ใจความ
             2. ควรศึกษาเรื่องราวที่จะอธิบายให้ชัดเจน
             3. ควรยกตัวอย่างประกอบ การนำตัวอย่างมาประกอบในการอธิบาย
การเปรียบเทียบหรือการอุปมาอุปมัยจะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาได้เร็วยิ่งขึ้น
             4. ควรอธิบายอย่างช้าๆ ในจุดสำคัญที่ต้องเน้น
             5. ควรลำดับขั้นตอนของเนื้อหาที่จะอธิบายให้เหมาะสมไม่วกวน เพื่อไม่ให้ผู้เรียนเกิดความสับสนในความต่อเนื่องของเนื้อหา
             6. การใช้สื่อการเรียนการสอนจะช่วยประหยัดเวลาและลดขั้นตอนในการอธิบายได้
             7. ขณะที่อธิบายควรสังเกตปฏิกิริยาหรือข้อมูลจากผู้เรียนด้วย
             8. ในการอธิบายควรเปลี่ยนระดับน้ำเสียงบ้าง เพื่อจะได้กระตุ้นความสนใจของผู้เรียน

วิธีการอธิบายที่ได้ผลดี
             วิธีการอธิบายที่จะช่วยให้การอธิบายได้ผลดียิ่งขึ้นนั้น ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ (เฉลิมศรี ทองแสง, 2538, หน้า 65) ดังต่อไปนี้
    1. กริยา ท่าทางของครู ควรมีกริยาท่าทางคล่องแคล่ว ยิ้มแย้ม เป็นกันเอง น้ำเสียงน่าฟัง สายตาจับที่นักเรียนอย่างทั่วถึง
    2. ใช้อุปกรณ์ประกอบการอธิบาย ครูควรใช้อุปกรณ์มาประกอบการอธิบาย เพื่อให้นักเรียนเกิดความเข้าใจได้ง่าย รวดเร็ว และถูกต้อง อุปกรณ์ที่ใช้มีหลายชนิด อาจเป็นของจริง
ของจำลอง รูปภาพ แผนที่ แผนภูมิ ฯลฯ
    3. การยกตัวอย่าง ครูควรนำตัวอย่างมาประกอบการอธิบาย เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจถูกต้อง รวดเร็ว และสาระที่อธิบายมีน้ำหนักน่าเชื่อถือ น่าสนใจ ตัวอย่างที่นำมาประกอบ
การอธิบายอาจจะเป็น คำพังเพย สุภาษิต โคลง กลอน คำขวัญ คติพจน์ เหตุการณ์เรื่องราวบุคคล สิ่งของ เป็นต้น
    4. การเปรียบเทียบ ครูอาจนำสิ่งที่นักเรียนรู้จักดีอยู่แล้วมาเปรียบเทียบกับสิ่งที่ครูอธิบาย เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจรวดเร็วและง่ายขึ้น เช่น เปรียบเทียบผิวโลกของเรามีลักษณะคล้ายผลมะกรูด หัวใจของคนกับเครื่องปั๊มน้ำ เป็นต้น
    5. การทำกิจกรรม หลังจากที่ครูอธิบายให้นักเรียนฟังแล้ว บางเรื่องอาจต้องให้นักเรียนได้ฝึก ทดลองทำ เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจดียิ่งขึ้น และฝึกการแก้ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น การทำแบบฝึกหัดคณิตศาสตร์ ภาษาไทย การฝึกหัดตอนกิ่ง ติดตา เป็นต้น

ขั้นตอนการฝึกทักษะการอธิบายและยกตัวอย่าง
             การอธิบายและยกตัวอย่าง ลัดดาวัลย์ พิชญพจน์ (ม.ป.ป., หน้า 55) และเฉลิมศรี ทองแสง (2538, หน้า 66) ได้กล่าวถึงขั้นตอนในการฝึกทักษะการอธิบายและยกตัวอย่างไว้ดังนี้
             1.  เลือกหัวข้อที่สามารถให้ตัวอย่างประกอบได้มากๆ
             2.  ขยายข้อความสำคัญโดยการยกตัวอย่างจากง่ายไปหายาก
             3.  ตัวอย่างที่ใช้ควรเหมาะสมกับพื้นฐานความรู้และประสบการณ์ของนักเรียน
             4.  มีการทดสอบความเข้าใจของนักเรียน

             การอธิบายจะสามารถทำให้ผู้เรียนมีความเข้ารู้ ความเข้าใจมากยิ่ง เมื่อสามารถนำการยกตัวอย่างมาประกอบการอธิบายด้วยเสมอ

เอกสารอ้างอิง

เฉลิมศรี  ทองแสง. (2538). ทักษะและเทคนิคการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 2). ลพบุรี:
            สถาบันราชภัฎเทพสตรี.
ลัดดาวัลย์ พิชญพจน์. (ม.ป.ป.). ทักษะและเทคนิคการสอน. ลพบุรี: สถาบันราชภัฎเทพสตรี.




วีดีโอการสอนโดยใช้ทักษะการอธิบายและยกตัวอย่าง



48 ความคิดเห็น:

  1. ผู้สอนควรใช้ไม้ชี้ค่ะในการใช้กระดาน

    ตอบลบ
  2. ผู้สอนใช้ไม้..จะดีมากเลยนะครับ..อิอิ

    ตอบลบ
  3. ใช้รูปแบบไหนในการยกตัวอย่างค่ะ
    1.แบบนิรนัย
    2.แบบอุปนัย

    ผู้สอนควรยกตัวอย่างให้เยอะๆ เพื่อให้เด็กเข้าใจมากยิ่งขึ้นและชัดเจนค่ะ

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ22 มกราคม 2554 เวลา 04:32

    ขาดไม้ชี้ในการสอนนะค่ะ แต่โดยรวมดีค่ะ ไงก็ฝากแวะไปคอมเม้นกลุ่มทักษะการเล่าเรื่องด้วยนะจ๊ะ

    ตอบลบ
  5. รวมแล้วดีนะค่ะ แต่ครูผู้ครวจะใช้ไม้ชี้มากกว่านะค่ะ

    ตอบลบ
  6. เนื้อหาทฤษฎีโดยรวมครบถ้วน การถ่ายทอดความรู้ทักษะการอธิบายและยกตัวอย่างในวิดีโอดีค่ะ

    ตอบลบ
  7. ผู้สอนควรจะใช้ไม้ขี้เพื่อให้เด็กสนใจเรื่องที่สอนมากขึ้นตอนอัด VDO ไม่ควรจะมีเสียงอื่นรบกวนเพราะจะทำให้การอัด VDOออกมาไม่ดีเท่าที่ควรนะค่ะครู

    ตอบลบ
  8. ขาดไม้ชี้ในการสอนเนื้อหาทฤษฎีโดยรวมครบถ้วน การถ่ายทอดความรู้ทักษะการอธิบายและยกตัวอย่างในวิดีโอดีค่ะ

    ตอบลบ
  9. เนื้อหาชัดเจนดี วิธีการสอนโดยในทักษะการอธิบายและยกตัวอย่างมีความสอดคล้องกับเนื้อหาดี

    ตอบลบ
  10. เนื้อหาเยอะดี แต่การสอนควรใช้ไม้ในการชี้ด้วยจะดีค่ะ

    ตอบลบ
  11. เนื้อหาดีค่ะ ผู้สอนก็สอนดีแต่ควรใช้ไม้ชี้กระดานนะค่ะ

    ตอบลบ
  12. สวย มาก เนื้อ หา ดี

    ตอบลบ
  13. ในการใช่สื่อ เช่นกระดานดำ สมควรที่จะต้องใช้ไม้ชี้ หรือหาอุปกรณ์ที่แทนไม้มาชี้นะคับ เพราะว่าการที่เราใช้นิ้วมือไปชี้ จะเป็นการบังข้อความที่ปรากฏบนกระดานคับ ^^

    ตอบลบ
  14. การใช้ทักษะดีค่ะ แต่ก็น่าจะมีการเตรียมอุปกรณ์ในการชี้นะคะ(ไม้)
    และอาจจะเพิ่มการยกตัวอย่างให้มากกว่านี้ก็ดีค่ะ
    เนื้อหาดี โดยรวมก็ดีแล้วค่ะ

    ตอบลบ
  15. ในการชี้กระดานควรมีอุปกรณ์ในการชี้ไม่ควรใช้มือ

    ตอบลบ
  16. การแนะนำตัวเองให้พูดว่าครูไม่ใช้พี่

    และต้องใช้ไม้ชี้ หรือหาอุปกรณ์ที่แทนไม้มาชี้ได้ข๊ะ

    แต่โดยรวมดีแล้วข๊ะ

    ตอบลบ
  17. ไม่ควรใช้มือในการชี้กระดานควรใช้อุปกรณ์เสริมเช่นไม้ โดยรวมก็ดีค่ะ

    ตอบลบ
  18. ในการใช่สื่อ เช่นกระดานดำ สมควรที่จะต้องใช้ไม้ชี้ หรือหาอุปกรณ์ที่แทนไม้มาชี้นะ เพราะว่าการที่เราใช้นิ้วมือไปชี้ จะเป็นการบังข้อความที่ปรากฏบนกระดาน

    ตอบลบ
  19. เนื้อหาน้อยไปหน่อย ไม่มีการยกตัวอย่างมาอธิบาย เพื่อประกอบการกับเนื้อหา ส่วนวีดีโอผู้สอนควรใช้ไม้แทนการใช้นิ้วชี้ เพราะการใช้นิ้วชี้ไม่เหมาะสมในการสอน และควรอธิบายและยกตัวอย่างให้ชัดเจนมากกว่านี้ เพื่อที่นักเรียนจะได้เข้าใจในเรื่องที่ครูผู้สอนกำลังสอนอยู่ และควรพูดให้ไพเราะมากกว่านี้อีกหน่อย โดยภาพรวมแล้วดีคะ

    ตอบลบ
  20. เนื้อหาค่อนข้างน้อย วิดีโอควรใช้ไม้แทนการใช้นิ้ว ในการยกตัวอย่างยังไม่ชัดเจนสรุปวิดีโอไม่ค่อยสมบูรณืน่ะค่ะ

    ตอบลบ
  21. ในการชี้กระดานควรมีอุปกรณ์ในการชี้ไม่ควรใช้มือ

    ตอบลบ
  22. ความคิดเห็นเหมือนกับ Rossukon_235 ค่ะ

    ตอบลบ
  23. ควรใช้ไม้ชี้ในการสอนนะครับ

    เพราะว่าจะทำให้เด็กเห็นได้จัดเจนมากขึ้น

    ตอบลบ
  24. เนื้อหา ดีครับ ส่วนเรื่องการสอนผมว่า ไม่ควรก้มหน้าเข้าหาเด็กแถมเอามือท้าวโต๊ะเด็กด้วย และ เรื่องเสียงในการถ่ายทำ เบาไปนิดนึงครับ

    ตอบลบ
  25. เนื้อหาดีครับ แต่ควรมีอุปกรณ์ในการชี้ไปที่กระดาน

    ตอบลบ
  26. ทฤษฎีน้อยไปส่วนการใช้สื่อกระดานดำควรใช้ไม้ชี้ค่ะ

    และการยกตัวอย่างน่าจะชัดเจนกว่านี้

    ตอบลบ
  27. VDO การสอนไม่ค่อยสมบรูณ์ ใช้เนื้อหาในการสอนน้อย
    การสรุปเนื้อหาไม่ชัดเจน
    ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  28. เนื้อหามีความละเอียดดีนะค่
    วิธีการสอนก็ดี
    แต่จะยกตัวอย่างอีก และน่าจะมีไม้ชี้ด้วยค่ะ

    ตอบลบ
  29. เนื้อหาละเอียดดีค่ะ แต่ควรจะมีไม้ชี้กระดาน เพื่อให้นักเรียนเห็นอย่างชัดเจนค่ะ

    ตอบลบ
  30. ในการอธิบายดีคะ
    แต่ในการยกตัวอย่างน่าจะ
    ยกตัวอย่างให้มากกว่านี้
    โดยรวมแล้วดีค่ะ

    ตอบลบ
  31. วีดีโอการสอน อธิบายได้ดี ครับ แค่เนื้อหา ดูน้อยไปนิด

    ตอบลบ
  32. เนื้อหาน้อยไปนิด โดยรวมใช้ได้

    ตอบลบ
  33. อย่าหันไปมองกระดาษด้านหลังครับ ถือไว้ในมือคอยสรุปย่อจะดีกว่าครับ
    ที่สำคัญอย่ายืนเท้าโต๊ะหน้าห้องครับ โดยรวมถือว่าผ่านครับ (กด Like)

    ตอบลบ
  34. เนื้อหาค่อนข้างน้อยนะคะ และวีดีโอก็ถือว่าใช้ได้แต่ควรใช้ไม้ในการสอนจะทำให้เห็นชัดกว่านี้นะคะ

    ตอบลบ
  35. หลักของทฤษฏีละเอียดดีคะ VDOที่ถ่ายทำก็มีความสอดคล้องกับหลักทฤษฏีดี เนื้อหาในการยกตัวอย่างก็เหมาะสมกับเด็กนักเรียนดีทำให้เด็กเข้าใจง่าย แต่มีข้อตินิดนึง คุณครูผู้สอนชอบยืนขากางทำให้เสียบุคลิกเด็กนักเรียนอาจมองไม่ดีจ้า

    ตอบลบ
  36. เนื้อหาดีค่ะ ผู้สอนก็สอนดีแต่ควรใช้ไม้ชี้กระดาน และยกตัวอย่างให้ชัดเจนมากกว่านี้ เพื่อที่นักเรียนจะได้เข้าใจในเรื่องที่ครูผู้สอนกำลังสอนอยู่ ค่ะ

    ตอบลบ
  37. น่าจะตัดส่วนที่เด็กทำงานออกหน่อยเพราะคลิปมันนานเกินไปครับ ส่วนรูปใบไม้น่าจะหาใบของจริงมาให้เด็กดูจะดีกว่ามากครับ

    ตอบลบ
  38. เนื้อหาดีค่ะ ผู้สอนควรใช้ไม้ชี้กระดานค่ะ

    ตอบลบ
  39. เนื้อหาดี แต่ในการสอนครูต้องใช้ไม้ชี้หรืออุปกรณ์ชี้กระดาน โดยรวมก็ดีค่ะ

    ตอบลบ
  40. เนื้อหาค่อยข้างน้อยไปหน่อยนะค่ะ ผู้สอนก็ควรใช้ไม้ชี้กระดานดำ

    ตอบลบ
  41. โดยรวมแล้วเนื้อหาสมบูรณ์มีรายละเอียดที่ครบถ้วนดีครับ

    ตอบลบ
  42. เนื้อหากับวิดีโอมีความเหมาะสมกันดีครับสอดคล้องกันดีครับภาพรวมใช้ได้ครับ

    ตอบลบ
  43. โดยภาพรวมแล้วออกมาดีค่ะ เพียงแต่เวลาสอนควรใช้ไม้เสริมในการสอนค่ะ

    ตอบลบ
  44. เนื้อหาของทักษะครบถ้วนดีค่ะ วีดีโอขอแนะนำเรื่องหนึ่งคือการเอามือไปท้าวโต๊ะ นักเรียน ในความคิดดิฉันว่าไม่เหมาะน๊ะ

    ตอบลบ
  45. ไม่ควรใช้มือในการชี้กระดานควรใช้อุปกรณ์เสริมเช่นไม้ โดยรวมก็ดีค่ะ

    ตอบลบ